Last updated: 22 มิ.ย. 2566 | 249 จำนวนผู้เข้าชม |
Ganoderma lucidum หรือเห็ดหลินจือ
ประกอบไปด้วยโพลีแซคคาไรด์ (สายโซ่ยาวของโมเลกุลน้ำตาลประเภทต่าง ๆ) และไตรเทอร์พีนอยด์ (โมเลกุลที่เป็นสารตั้งต้นของสารประกอบสเตอรอยด์) อีกทั้งสารประกอบอื่น ๆ ที่มีประโยชน์มากมาย
ทั้งโพลีแซคคาไรด์และไตรเทอร์พีนอยด์ในเห็ดหลินจือต่างมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเซลล์ต่าง ๆ จากอนุมูลอิสระได้ มีงานวิจัยการศึกษาในมนุษย์พบว่าเห็ดหลินจือมีประโยชน์ในเรื่องผิวโดยช่วยต่อต้านการเกิดริ้วรอย และช่วยให้อายุยืนยาว โพลีแซคคาไรด์ที่พบในเห็ดหลินจือช่วยในเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีงานวิจัยการศึกษาในคนที่เป็นโรคเรื้อรัง พบว่าการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันดีขึ้นเมื่อทานเห็ดหลินจือต่อเนื่อง โดยกลไกคือการกระตุ้นหรือปรับสมดุลการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวและไซโตไคน์ มีการศึกษาในผู้ป่วยที่ติดเชื้อในช่องปากจากเชื้อแปปิโลมาในมนุษย์ พบว่าเมื่อใช้เห็ดหลินจือและเห็ดหางไก่งวงร่วมกันเป็นเวลา 2 เดือน สามารถกำจัดไวรัสได้ 88% โดยเทียบกับการรักษาที่ทำได้เพียง 5% จากผลการทดลองนี้จึงเป็นไปได้ว่าน่าจะเกิดจากผลการเพิ่มภูมิคุ้มกันของเห็ดหลินจือ ซึ่งมีส่วนช่วยในการกำจัดไวรัส
Hericium erinaceus (lion’s mane) หรือเห็ดยามาบูชิตาเกะ
มีประวัติอันยาวนานในการนำมาใช้ในการแพทย์แผนจีนเช่นเดียวกับเห็ดหลินจือ ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้สำหรับปรับสภาพร่างกายพร้อมกับฟื้นฟูการย่อยอาหาร
เห็ดชนิดนี้อุดมด้วยสารโพลีแซคคาไรด์ที่สามารถกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เช่นเดียวกับเห็ดทุกชนิด แต่ในงานวิจัยล่าสุดพบว่า เห็ดยามาบูชิตาเกะยังมีประโยชน์ต่อสมองและระบบประสาทส่วนกลาง งานวิจัยพบว่า เห็ดยามาบูชิตาเกะทำให้อาการซึมเศร้า และความวิตกกังวลดีขึ้นได้ โดยมีการศึกษาในบุคคลที่มีน้ำหนักเกินพบว่าเมื่อทานเห็ดยามาบูชิตาเกะ ช่วยลดอาการซึมเศร้า ความวิตกกังวล และยังช่วยในการนอนหลับ ในการศึกษานี้ผู้ป่วยทุกคนที่รับประทานเห็ดยามาบูชิตาเกะได้เปลี่ยนจากอาการระดับปานกลางเป็นระดับต่ำ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเห็ดยามาบูชิตาเกะเพื่อรักษาภาวะสมองเสื่อม พบว่า 71.4% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่รักษามีการทำงานของสมองที่ดียิ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก
และการศึกษาจากประเทศญี่ปุ่นพบว่า นอกจากประโยชน์ในการฟื้นฟูการทำงานของสมอง การเสริมเห็ดยามาบูชิตาเกะยังมีประโยชน์ด้านทางเดินอาหาร มีงานวิจัยผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอักเสบ ที่ได้รับเห็ดยามาบูชิตาเกะหรือยาหลอกเป็นเวลาสามเดือน ในผู้ป่วยที่ได้รับเห็ดยามาบูชิตาเกะ พบว่า 63% ไม่มีความเจ็บปวดหลังการรักษา เทียบกับ 36% ในกลุ่มยาหลอก จากนั้นมีการส่องกล้องเพื่อตรวจดูกระเพาะอาหาร พบว่า 52% ของผู้ป่วยที่ได้รับเห็ดยามาบูชิตาเกะมีเนื้อเยื่อในทางเดินอาหารที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเพียง 8% ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก
ถั่งเช่า
มีประวัติอันยาวนานในการใช้เป็นยาในจีนและทิเบต นอกจากนี้ยังมีโพลีแซคคาไรด์ที่เป็นส่วนหนึ่งที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยในทางการแพทย์แผนจีน ถั่งเช่าสามารถทำหน้าที่เป็นยาบำรุงปอดและไตได้
การศึกษาในหนูพบว่าถั่งเช่ากระตุ้นการทำงานของแมคโครฟาจ ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มการปลดปล่อยโกรทแฟคเตอร์สำหรับเซลล์เม็ดเลือดขาว
ในการศึกษาชิ้นอื่น ๆ พบว่า การทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันดีขึ้น รวมทั้งแมคโครฟาจและเซลล์นักฆ่าตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบประโยชน์ในโรคไตประเภทต่าง ๆ พบว่าการทำงานของไตดีขึ้น และภาวะแทรกซ้อนลดลงเมื่อใช้ถั่งเช่าร่วมกับการดูแลแบบมาตรฐานสำหรับโรคไตเรื้อรัง และถั่งเช่ายังมีประโยชน์ด้านการออกกำลังกายอีกด้วย มีการศึกษาที่สำรวจว่าพลังงานและประสิทธิภาพการออกกำลังกายดีขึ้นหรือไม่ เมื่อรับประทานถั่งเช่า พบว่าสามารถช่วยให้การผลิตพลังงานดีขึ้นและการตอบสนองต่อความเครียดลดลง
Ref:
Yang Y, Li J, Hong Q, Zhang X, Liu Z, Zhang T. Polysaccharides from Hericium erinaceus fruiting bodies: structural characterization, immunomodulatory activity and mechanism. Nutrients. 2022;14(18):3721. Published 2022 Sep 9. doi:10.3390/nu14183721
Yoon TJ, Yu KW, Shin KS, Suh HJ. Innate immune stimulation of exo-polymers prepared from Cordyceps sinensis by submerged culture. Appl Microbiol Biotechnol. 2008;80(6):1087-1093. doi:10.1007/s00253-008-1607-y
Zhang HW, Lin ZX, Tung YS, et al. Cordyceps sinensis (a traditional Chinese medicine) for treating chronic kidney disease. Cochrane Database Syst Rev. 2014;(12):CD008353. Published 2014 Dec 18. doi:10.1002/14651858.CD008353.pub2
Zhu M, Chang Q, Wong LK, Chong FS, Li RC. Triterpene antioxidants from Ganoderma lucidum. Phytother Res. 1999;13(6):529-531. doi:10.1002/(sici)1099-1573(199909)13:6<529::aid-ptr481>3.0.co;2-x
Ratto D, Corana F, Mannucci B, et al. Hericium erinaceus improves recognition memory and induces hippocampal and cerebellar neurogenesis in frail mice during aging. Nutrients. 2019;11(4):715. Published 2019 Mar 27. doi:10.3390/nu11040715
Cör Andrejč D, Knez Ž, Knez Marevci M. Antioxidant, antibacterial, antitumor, antifungal, antiviral, anti-inflammatory, and nevro-protective activity of Ganoderma lucidum: an overview. Front Pharmacol. 2022;13:934982. Published 2022 Jul 22. doi:10.3389/fphar.2022.934982
Donatini B. Control of oral human papillomavirus (HPV) by medicinal mushrooms, Trametes versicolor and Ganoderma lucidum: a preliminary clinical trial. Int J Med Mushrooms. 2014;16(5):497-498. doi:10.1615/intjmedmushrooms.v16.i5.80
Contact Us
ช่องทางการติดต่อ
● Facebook: Vita DNA วิเคราะห์สุขภาพและจัดอาหารเสริมเฉพาะบุคคล
● Line: @vitadna
● Instagram: vitadna_official
21 มิ.ย. 2566