โสมสายพันธุ์ต่าง ๆ กับประโยชน์ต่อสุขภาพที่ทำให้เป็นสมุนไพรยอดนิยม

Last updated: 22 มิ.ย. 2566  |  228 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โสมสายพันธุ์ต่าง ๆ กับประโยชน์ต่อสุขภาพที่ทำให้เป็นสมุนไพรยอดนิยม

โสมเป็นอะแดปโตเจน ที่ช่วยรักษาระดับคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) ให้อยู่ในระดับที่ดี มีพลังงานมากขึ้น มีการทำงานของสมองที่ดีขึ้น และนอนหลับได้ดีขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ตึงเครียด โสมอเมริกันมีการใช้มายาวนานเพื่อบรรเทาความอ่อนล้าจากการทำงานหนักเกินไป  มีคุณสมบัติในการระบายความร้อน มีงานวิจัยพบว่า โสมอเมริกัน Panax quinquefolius สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีการศึกษาในปี 2019 พบว่าการเสริมโสมอเมริกันควบคู่ไปกับการรักษาโรคเบาหวานประเภท 2 แบบดั้งเดิมนั้นปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้



            Panax ginseng เรียกอีกอย่างว่าโสมแดง โสมขาว โสมจีน หรือโสมเกาหลี มีคุณสมบัติในการให้ความร้อน ซึ่งหมายความว่าอาจไม่เหมาะที่จะใช้ในสภาพอากาศร้อนหรือในผู้ที่อุณหภูมิร่างกายร้อนจัด โสมเกาหลีมีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ชะลอวัย ส่งเสริมการทำงานของระบบหัวใจ และหลอดเลือด รวมทั้งระบบทางเดินหายใจ ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และอาการวัยหมดประจำเดือน

 

โสมไซบีเรีย (Acanthopanax sendicosus) นิยมมาใช้ในการฟื้นตัวจากความเครียดในระยะยาว การฟื้นตัวจากการผ่าตัดหรือการเจ็บป่วย ช่วยเรื่องความแข็งแกร่ง รวมถึงเสริมประสิทธิภาพการเล่นกีฬา และเพิ่มความตื่นตัวได้เหมือนคาเฟอีน มีงานวิจัยการศึกษาของนักกีฬาชายอายุน้อยพบว่า เมื่อได้รับโสมไซบีเรีย เป็นเวลา 8 สัปดาห์สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือด สมรรถภาพทางกาย และการเผาผลาญอาหารได้อย่างมีนัยสำคัญ



โสมอินเดีย Ashwaghanda หรือ Withania somnifera เป็นโสมที่มีประโยชน์หลายอย่างในฐานะอะแดปโตเจน จึงมักใช้เพื่อบำรุงร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีความเครียดเรื้อรังหรือการพักฟื้น ซึ่งแตกต่างจากโสมแท้ตรงที่โสมอินเดียไม่มีฤทธิ์กระตุ้น แต่ช่วยให้ผู้คนนอนหลับได้ดีขึ้น และช่วยให้รู้สึกเจริญอาหาร อีกทั้งมักใช้เป็นอะแดปโตเจนหรือในโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง

 

ข้อควรระวังคือโสมมีปฏิกิริยากับยาบางชนิด โดยเฉพาะยากลุ่มสแตติน ยาละลายลิ่มเลือด ยาความดันโลหิต และยารักษาน้ำตาลในเลือด ดังนั้นจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบเป็นโสม

 

Ref:

            Kim MS, Lim HJ, Yang HJ, Lee MS, Shin BC, Ernst E. Ginseng for managing menopause symptoms: a systematic review of randomized clinical trials. J Ginseng Res. 2013;37(1):30-36. doi: 10.5142/jgr.2013.37.30

            Kuo J, Chen KW, Cheng IS, Tsai PH, Lu YJ, Lee NY. The effect of eight weeks of supplementation with Eleutherococcus senticosus on endurance capacity and metabolism in human. Chin J Physiol. 2010;53(2):105-111. doi: 10.4077/cjp.2010.amk018

            Lee HW, Ang L, Lee MS. Using ginseng for menopausal women's health care: a systematic review of randomized placebo-controlled trials. Complement Ther Clin Pract. 2022;48:101615. doi: 10.1016/j.ctcp.2022.101615

            Li T, Ferns K, Yan ZQ, et al. Acanthopanax senticosus: photochemistry and anticancer potential. Am J Chin Med. 2016;44(8):1543-1558. doi: 10.1142/S0192415X16500865

            Shergis JL, Zhang AL, Zhou W, Xue CC. Panax ginseng in randomised controlled trials: a systematic review. Phytother Res. 2013;27(7):949-965. doi: 10.1002/ptr.4832

            Sumiyoshi M, Kimura Y. Effects of Eleutherococcus senticosus cortex on recovery from the forced swimming test and fatty acid β-oxidation in the liver and skeletal muscle of mice. Nat Prod J. 2016;6(1):49-55. doi: 10.2174/2210315506999151207145020

            Szczuka D, Nowak A, Zakłos-Szyda M, et al. American ginseng (Panax quinquefolium L.) as a source of bioactive phytochemicals with pro-health properties. Nutrients. 2019;11(5):1041. Published 2019 May 9. doi: 10.3390/nu11051041

Contact Us
ช่องทางการติดต่อ

●      Facebook: Vita DNA วิเคราะห์สุขภาพและจัดอาหารเสริมเฉพาะบุคคล
●      Line: @vitadna
●      Instagram: vitadna_official

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้